วันพฤหัสบดีที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

พันธุ์ข้าวไทย

บทที่1พันธุ์ข้าวนาสวนไวต่อช่วงแสง








ชื่อพันธุ์กข5 (RD5)
ชนิดข้าวเจ้า
คู่ผสมพวงนาค 16 / ซิกาดิส
ประวัติพันธุ์ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่างพันธุ์พวงนาค 16 ของไทยกับพันธุ์ซิกาดิส ของอินโดนีเซีย ได้ผสมพันธุ์และคัดพันธุ์แบบสืบตระกูลที่สถานีทดลองข้าวบางเขน เมื่อปี พ.ศ.2508 จนได้สายพันธุ์ BKN6517-9-2-2
การรับรองพันธุ์คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ให้ใช้ขยายพันธุ์เป็นพันธุ์รับรองเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2516
ลักษณะประจำพันธุ์เป็นข้าวเจ้าต้นสูง สูงประมาณ 145 เซนติเมตรเป็นพันธุ์ข้าวไวต่อช่วงแสงเล็กน้อย เหมาะที่จะปลูกเป็นข้าวนาปี ถ้าปลูกตามฤดูกาลจะเก็บเกี่ยวได้ปลายเดือนพฤศจิกายน แต่ถ้าปลูกในฤดูนาปรังหรือไม่ปลูกตามฤดูกาล อายุจะอยู่ระหว่าง 140-160 วัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเดือนที่ลำต้นสีม่วง มีรวงยาว ต้นแข็งไม่ล้มง่ายปลูกระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 6 สัปดาห์เมล็ดข้าวเปลือกสีฟางก้นจุดท้องไข่น้อย










ชื่อพันธุ์กข6 (RD6)
ชนิดข้าวเหนียว
ประวัติพันธุ์ได้จากการปรับปรุงพันธุ์ โดยการใช้รังสีชักนำให้เกิดการกลายพันธุ์ โดยใช้รังสีแกมมาปริมาณ 20 กิโลแรด อาบเมล็ดพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 แล้วนำมาปลูกคัดเลือกที่สถานีทดลองข้าวบางเขนและสถานีทดลองข้าวพิมาย จากการคัดเลือกได้ข้าวเหนียวหลายสายพันธุ์ในข้าวชั่วที่ 2 นำไปปลูกคัดเลือกจนอยู่ตัวได้สายพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูงสุดคือ สายพันธุ์ KDML105'65-G2U-68-254 นับว่าเป็นข้าวพันธุ์ดีพันธุ์แรกของประเทศไทย ที่ค้นคว้าได้โดยใช้วิธีชักนำพันธุ์พืชให้เปลี่ยนกรรมพันธุ์โดยใช้รังสี
การรับรองพันธุ์คณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2520
ลักษณะประจำพันธุ์เป็นข้าวเหนียว สูงประมาณ 154 เซนติเมตรไวต่อช่วงแสงทรงกอกระจายเล็กน้อย ใบยาวสีเขียวเข้ม ใบธงตั้ง เมล็ดยาวเรียวเมล็ดข้าวเปลือกสีน้ำตาลอายุเก็บเกี่ยวประมาณ 21 พฤศจิกายนระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 5 สัปดาห์








ชื่อพันธุ์กข8 (RD8)
ชนิดข้าวเหนียว
คู่ผสมเหนียวสันป่าตอง*2 / ไออาร์ 262
ประวัติพันธุ์ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่างพันธุ์เหนียวสันป่าตอง กับพันธุ์ไออาร์ 262 ในปี พ.ศ.2509 แล้วผสมกลับไปหาพันธุ์เหนียวสันป่าตองอีกครั้งหนึ่ง ในปี พ.ศ.2510 โดยผสมพันธุ์และคัดเลือกที่สถานีทดลองข้าวบางเขนได้สายพันธุ์ BKN6721 เมล็ดพันธุ์ผสมชั่วที่ 2 ถูกส่งไปให้สถานีทดลองข้าวขอนแก่นทำการปลูกคัดเลือกต่อ และได้เปลี่ยนชื่อคู่ผสมตามรหัสของสถานีเป็นสายพันธุ์ KKN6721 สถานีทดลองข้าวขอนแก่นได้ทำการคัดเลือกและปลูกเปรียบเทียบผลผลิต จนได้สายพันธุ์ KKN6721-5-7-4
การรับรองพันธุ์
คณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2521
ลักษณะประจำพันธุ์เป็นข้าวเหนียว สูงประมาณ 150 เซนติเมตรไวต่อช่วงแสงอายุเก็บเกี่ยวประมาณ 23 พฤศจิกายนลำต้นและใบสีเขียวเข้ม ใบธงตั้ง ฟางแข็ง ชูรวงอยู่เหนือใบ เมล็ดข้าวค่อนข้างป้อม ลำต้นแข็งเมล็ดข้าวเปลือกสีเหลืองระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 3 สัปดาห์










ชื่อพันธุ์กข13 ( RD13 )
ชนิดข้าวเจ้า
คู่ผสมนางพญา 132 / ผักเสี้ยน 39
ประวัติพันธุ์ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่างพันธุ์นางพญา 132 กับพันธุ์ผักเสี้ยน 39 ที่สถานีทดลองข้าวบางเขน ในปี พ.ศ.2507 แล้วนำข้าวพันธุ์ผสมชั่วที่ 2 ไปปลูกคัดเลือกที่สถานีทดลองข้าวควนกุฎ จังหวัดพัทลุง จนได้สายพันธุ์ BKN6402-352
การรับรองพันธุ์คณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2521
ลักษณะประจำพันธุ์เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 160 เซนติเมตรไวต่อช่วงแสงลำต้นตั้งตรง สีเขียว ใบธงตก ชูรวงอยู่เหนือใบ ระแง้ถี่อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 26 กุมภาพันธ์เมล็ดข้าวเปลือกสีน้ำตาลท้องไข่ปานกลาง
ระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 3 สัปดาห์









ชื่อพันธุ์กข15 (RD15)
ชนิดข้าวเจ้า
ประวัติพันธุ์ได้จากการปรับปรุงพันธุ์ โดยการใช้รังสีชักนำให้เกิดการกลายพันธุ์ โดยใช้รังสีแกมมาปริมาณ 15 กิโลแรด อาบเมล็ดพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในปี พ.ศ. 2508 แล้วนำมาปลูกคัดเลือกที่สถานีทดลองข้าวต่างๆ ในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จนได้สายพันธุ์ KDML 105'65G1U-
การรับรองพันธุ์คณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2521
ลักษณะประจำพันธุ์เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 140 เซนติเมตรไวต่อช่วงแสงอายุเก็บเกี่ยวประมาณ 10 พฤศจิกายนลำต้นและใบสีเขียวอ่อน ใบธงทำมุมกับคอรวง รวงอยู่เหนือใบ ใบยาว ค่อนข้างแคบเมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง ปลายบิดงอเล็กน้อยระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 7 สัปดาห์เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.1 x 7.5 x 1.7 มิลลิเมตร










ชื่อพันธุ์กข27 (RD27)
ชนิดข้าวเจ้า
คู่ผสมขาวตาอู๋ / ขาวตาแห้ง 17
ประวัติพันธุ์ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่างพันธุ์ขาวตาอู๋ กับ พันธุ์ขาวตาแห้ง 17 ที่สถานีทดลองข้าวบางเขน เมื่อปี พ.ศ. 2504 แล้วทำการคัดเลือกและปลูกเปรียบเทียบผลผลิตจนได้สายพันธุ์ BKN6113-79
การรับรองพันธุ์คณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์รับรองเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2524
ลักษณะประจำพันธุ์เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 160 เซนติเมตรไวต่อช่วงแสงอายุเก็บเกี่ยวประมาณ วันที่ 10 ธันวาคมมีลำต้นและใบสีเขียว ทรงกอค่อนข้างตั้ง ต้นใหญ่ และใบยาวเมล็ดค่อนข้างป้อม ข้าวเปลือกสีฟางระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 8 สัปดาห์ท้องไขน้อยเมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา= 2.3 x 7.5 x 1.8 มิลลิเมตร









ชื่อพันธุ์กำผาย 15 (Gam Pai 15)
ชนิดข้าวเหนียว
ประวัติพันธุ์ได้จากการรวบรวมพันธุ์โดยพนักงานเกษตรอำเภอ จากอำเภอเมือง จังหวัดลำพูน เมื่อ พ.ศ. 2493-2494 จำนวน 99 รวง และปลูกเปรียบเทียบพันธุ์ที่สถานีทดลองข้าวพาน และสถานีทดลองข้าวสันป่าตอง ระหว่าง พ.ศ.2500-2505 คัดเลือกได้สายพันธุ์ กำผาย 30-12-15
การรับรองพันธุ์คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ ให้ใช้ขยายพันธุ์ุ เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2505
ลักษณะประจำพันธุ์เป็นข้าวเหนียวต้นสูง สูงประมาณ 168 เซนติเมตรไวต่อช่วงแสงอายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 30 พฤศจิกายนระยะพักตัวของเมล็ด ประมาณ 6 สัปดาห์เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.8 x 7.2 x 2.0 มิลลิเมตร









ชื่อพันธุ์เก้ารวง 88 (Gow Ruang 88)
ชนิดข้าวเจ้า
ประวัติพันธุ์ได้จากการรวบรวมพันธุ์โดยพนักงานเกษตร จากอำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี เมื่อปี พ.ศ. 2493-2494 จำนวน 203 รวง แล้วนำไปคัดเลือกแบบคัดพันธุ์บริสุทธิ์ตามสถานีทดลองข้าวต่างๆ จนได้สายพันธุ์ เก้ารวง 17-2-88
การรับรองพันธุ์คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ ให้ใช้ขยายพันธุ์ เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2505
ลักษณะประจำพันธุ์เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 140 เซนติเมตรไวต่อช่วงแสงลำต้นและใบสีเขียวเข้ม เมล็ดข้าวรูปร่างเรียวยาวข้าวเปลือกสีฟางอายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 21 พฤศจิกายนระยะพักตัวของเมล็ด ประมาณ 8 สัปดาห์เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา =2.2 x 7.3 x 1.7 มิลลิเมตรปริมาณอมิโลส 22-26%คุณภาพข้าวสุก ร่วน นุ่ม








ชื่อพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 (Khao Dawk Mali 105)
ชนิดข้าวเจ้าหอม
ประวัติพันธุ์ได้มาโดยนายสุนทร สีหะเนิน เจ้าพนักงานข้าว รวบรวมจากอำเภอบางคล้าจังหวัดฉะเชิงเทรา เมื่อ พ.ศ.2493-2494 จำนวน 199 รวง แล้วนำไปคัดเลือกแบบคัดพันธุ์บริสุทธิ์ (Pure Line Selection) และปลูกเปรียบเทียบพันธุ์ที่สถานีทดลองข้าวโคกสำโรง แล้วปลูกเปรียบเทียบพันธุ์ท้องถิ่นในภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จนได้สายพันธุ์ขาวดอกมะลิ 4-2-105 ซึ่งเลข 4 หมายถึง สถานที่เก็บรวงข้าว คืออำเภอบางคล้า เลข 2 หมายถึงพันธุ์ทดสอบที่ 2 คือ ขาวดอกมะลิ และเลข 105 หมายถึง แถวหรือรวงที่ 105 จากจำนวน 199 รวง
การรับรองพันธุ์คณะกรรมการการพิจารณาพันธุ์ ให้ใช้ขยายพันธุ์เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2502
ลักษณะประจำพันธุ์
เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 140 เซนติเมตรไวต่อช่วงแสงลำต้นสีเขียวจาง ใบสีเขียวยาวค่อนข้างแคบ ฟางอ่อน ใบธงทำมุมกับคอรวง เมล็ดข้าวรูปร่างเรียวยาวข้าวเปลือกสีฟางอายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 25 พฤศจิกายนเมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.1 x 7.5 x 1..8 มิลลิเมตรปริมาณอมิโลส 12-17%คุณภาพข้าวสุก นุ่ม มีกลิ่นหอม









ชื่อพันธุ์ขาวตาแห้ง 17 (Khao Tah Haeng 17)
ชนิดข้าวเจ้า
ประวัติพันธุ์เป็นพันธุ์ข้าวพื้นเมืองที่ชนะการประกวดเมื่อ พ.ศ.2499 แล้วนำไปปลูกคัดเลือกแบบคัดพันธุ์บริสุทธิ์ ตามสถานีทดลองข้าวต่างๆ ทั่วประเทศ คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ให้ใช้ขยายพันธุ์เมื่อ พ.ศ.2499 แต่เนื่องจากไม่ต้านทานโรคไหม้ จึงได้ยกเลิกไปเมื่อ พ.ศ.2506 และได้นำกลับมาขยายพันธุ์ใหม่ ในปี พ.ศ.2508 เนื่องจากเป็นพันธุ์ข้าวที่มีคุณภาพดี โรงสีรับซื้อและให้ราคาดี จึงเป็นที่นิยมปลูกของชาวนามาโดยตลอด
การรับรองพันธุ์คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ ให้ใช้ขยายพันธุ์ เมื่อปี พ.ศ.2499 และ พ.ศ.2508
ลักษณะประจำพันธุ์เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 150 เซนติเมตรไวต่อช่วงแสงลำต้นสีเขียว กอแผ่กระจาย แตกกอดี เมล็ดข้าวมีรูปร่างเรียวยาวข้าวเปลือกสีเหลืองจางอายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 20 ธันวาคมระยะพักตัวของเมล็ด ประมาณ 8 สัปดาห์เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.3 x 7.5 x 1.8 มิลลิเมตร








ชื่อพันธุ์ ขาวปากหม้อ 148 (Khao Pahk Maw 148)
ชนิดข้าวเจ้า
ประวัติพันธุ์ได้จากการรวบรวมพันธุ์โดยนายทอง ฝอยหิรัญ พนักงานเกษตร จากอำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี เมื่อปี พ.ศ.2495-2496 จำนวน 196 รวง แล้วนำมาคัดเลือกแบบคัดพันธุ์บริสุทธิ์ตามสถานีทดลองข้าวต่างๆ จนได้สายพันธุ์ขาวปากหม้อ 55-3-148
การรับรองพันธุ์คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ ให้ใช้ขยายพันธุ์เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2508
ลักษณะประจำพันธุ์เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 140 เซนติเมตรไวต่อช่วงแสงลำต้นสีเขียว แตกกอดี ทรงกอตั้งตรง ใบกว้างและยาว เมล็ดมีรูปร่างเรียวยาวข้าวเปลือกสีฟางอายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 3 ธันวาคมระยะพักตัวของเมล็ด ประมาณ 6 สัปดาห์เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.3 x 7.6 x 1.9 มิลลิเมตร








ชื่อพันธุ์ข้าวเจ้าหอมพิษณุโลก 1 (Khao' Jow Hawm Phitsanulok 1)
ชนิดข้าวเจ้า
คู่ผสมขาวดอกมะลิ 105 / LA29'73NF1U-14-3-1-1// IR58
ประวัติพันธุ์ได้จากการผสมพันธุ์ 3 ทาง ระหว่างพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 และสายพันธุ์ LA29'73NF1U-14-3-1-1 กับIR58 ที่สถานีทดลองข้าวสุพรรณบุรี ในปี พ.ศ. 2525-2526พ.ศ. 2528-2533 นำไปปลูกคัดเลือกที่ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก ตั้งแต่ชั่วที่ 2-7 จนได้สายพันธุ์ SPRLR83228-PSL-32-1
การรับรองพันธุ์คณะกรรมการบริหารกรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 30 กันยายน 25
ลักษณะประจำพันธุ์เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 160 เซนติเมตรไวต่อช่วงแสงอายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 25 พฤศจิกายนลำต้นสูง ทรงกอตั้ง ฟางแข็งปานกลาง ใบสีเขียว ใบธงเอน คอรวงยาว รวงแน่นปานกลาง ระแง้ถี่เมล็ดข้าวเปลือกสีฟางระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 11 สัปดาห์เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.1 x 7.4 x 1.7 มิลลิเมตร








ชื่อพันธุ์เฉี้ยงพัทลุง (Chiang Phatthalung)
ชนิดข้าวเจ้า
ประวัติพันธุ์เป็นข้าวพันธุ์พื้นเมือง มีชื่อเดิมหลายชื่อได้แก่ ขาวกาหวิน เปอร์วิต ขาวมาเล บางแก้ว นายเฉี้ยง ทองเรือง เกษตรกรอำเภอป่าบอน จังหวัดพัทลุง ได้นำข้าวพันธุ์นี้จากอำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง ไปปลูกที่ตำบลบ้านใหม่ อำเภอระโนด เป็นครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ. 2517 เพื่อแก้ปัญหาความแห้งแล้ง ฝนทิ้งช่วงปลายฤดู และเป็นที่นิยมปลูกแพร่หลายในเวลาต่อมา ในปี พ.ศ. 2530 สถานีทดลองข้าวปัตตานีได้เก็บรวบรวมข้าวพันธุ์ดังกล่าวจากแปลงนาเกษตรกรในอำเภอระโนด จังหวัดสงขลา และทำการคัดเลือกแบบหมู่จนได้สายพันธุ์เฉี้ยงพัทลุง
การรับรองพันธุ์คณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์แนะนำ เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2537
ลักษณะประจำพันธุ์เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 150 เซนติเมตรไวต่อช่วงแสงอายุเก็บเกี่ยว ประมาณกลางเดือนมกราคมใบสีเขียว ใบธงแผ่เป็นแนวนอน คอรวงยาว รวงยาวปานกลาง ระแง้ค่อนข้างถี่เมล็ดข้าวเปลือกสีฟางระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 1 สัปดาห์เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.1 x 6.7 x 1.6 มิลลิเมตรมีท้องไข่ปานกลาง







ชื่อพันธุ์ชุมแพ 60 (Chum Phae 60)
ชนิดข้าวเจ้า
คู่ผสมกำผาย 41/ เหลืองทอง 78
ประวัติพันธุ์ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่าง พันธุ์กำผาย 41 และพันธุ์เหลืองทอง 78 ที่สถานีทดลองข้าวสันป่าตอง ในปี 2504 ปลูกศึกษาพันธุ์ เปรียบเทียบผลผลิตภายในสถานีและระหว่าง สถานีในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จนได้สายพันธุ์ SPT6118-34
การรับรองพันธุ์คณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2530
ลักษณะประจำพันธุ์เป็นพันธุ์ข้าวเจ้า สูงประมาณ 160-180 เซนติเมตรไวต่อช่วงแสงอายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 27 พฤศจิกายนลำต้นและใบสีเขียว กอตั้งตรง แตกกอดี ต้นแข็งไม่ล้มง่าย ใบแคบยาว ใบธงตก รวงและคอรวงยาว เมล็ดเรียวยาวร่วงยาก มีท้องไข่ปานกลางข้าวเปลือกสีฟาง สาแหรกสีน้ำตาล และมีขนสั้นระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 9 สัปดาห์เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.3 x 7.6 x 1.8 มิลลิเมตรปริมาณอมิโลส 27.35 %คุณภาพข้าวสุก ร่วน แข็ง










ชื่อพันธุ์นางพญา 132 (Nahng Pa-yah 132
ชนิดข้าวเจ้า

ประวัติพันธุ์ได้จากการรวบรวมข้าวพันธุ์พื้นเมือง จากอำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อปี พ.ศ. 2493 แล้วนำไปปลูกคัดเลือกแบบคัดพันธุ์บริสุทธิ์ตามสถานีทดลองข้าวต่างๆ จนได้สายพันธุ์ นางพญา 37-30-132
การรับรองพันธุ์คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ ให้ใช้ขยายพันธุ์ เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2505
ลักษณะประจำพันธุ์เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 175 เซนติเมตรไวต่อช่วงแสงลำต้นและใบสีเขียว แตกกอดี คอรวงยาว เมล็ดข้าวมีรูปร่างเรียวยาวข้าวเปลือกสีฟางอายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 16 กุมภาพันธ์ระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 3 สัปดาห์เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.2 x 7.6 x 1.7 มิลลิเมตรปริมาณอมิโลส 28-32%คุณภาพข้าวสุก ร่วน แข็ง









ชื่อพันธุ์นางมล เอส-4 (Nahng Mon S-4)
ชนิดข้าวเจ้า
ประวัติพันธุ์ได้มาจากการรวบรวมพันธุ์ข้าวพื้นเมือง จากตำบลรังสิต อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี เมื่อ พ.ศ. 2493 นำมาปลูกคัดเลือกแบบคัดพันธุ์บริสุทธิ์ในสถานีทดลองข้าวต่างๆ จนได้สายพันธุ์ที่ดีที่สุด
การรับรองพันธุ์คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ให้ใช้ขยายพันธ์เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อ พ.ศ. 2499,2504,2508
ลักษณะประจำพันธุ์ เป็นข้าวเจ้า ต้นสูงประมาณ 140 เซนติเมตรไวต่อช่วงแสงลำต้นสีเขียว ใบกว้าง รวงใหญ่และยาว เมล็ดรูปร่างยาวเรียวข้าวเปลือกสีฟางอายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 26 พฤศจิกายนระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 5 สัปดาห์เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.4 x 7.7 x 1.8 มิลลิเมตรปริมาณอมิโลส 19 %คุณภาพข้าวสุก นุ่ม มีกลิ่นหอม










ชื่อพันธุ์น้ำสะกุย 19 (Nam Sa-gui 19)
ชนิดข้าวเจ้า

ประวัติพันธุ์ได้จากการรวบรวมพันธุ์โดยนายสมพงษ์ บุญเย็น พนักงานเกษตร เมื่อปี พ.ศ.2507 จำนวน 300 รวง จากอำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ แล้วนำไปคัดเลือกแบบคัดพันธุ์บริสุทธิ์ ตามสถานีทดลองข้าวต่างๆ จนได้สายพันธุ์ น้ำสะกุย 445-4-19
การรับรองพันธุ์คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ ให้ใช้ขยายพันธุ์ เมื่อ ปี พ.ศ. 2511
ลักษณะประจำพันธุ์เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 143 เซนติเมตรไวต่อช่วงแสงข้อต่อระหว่างกาบใบและตัวใบสีม่วง แตกกอดี ทรงกอแผ่เล็กน้อย เมล็ดข้าวยาวเรียวข้าวเปลือกสีฟางก้นจุดอายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 4 พฤศจิกายนระยะพักตัวของเมล็ด ประมาณ 3 สัปดาห์เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.2 x 7.7 x 1.8 มิลลิเมตรปริมาณอมิโลส 30-31 %คุณภาพข้าวสุก ร่วน แข็ง








ชื่อพันธุ์เผือกน้ำ 43 (Peuak Nam 43)
ชนิดข้าวเจ้า

ประวัติพันธุ์ได้จากการรวบรวมข้าวพันธุ์พื้นเมือง จากอำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี แล้วนำไปปลูกคัดเลือก แบบคัดพันธุ์บริสุทธิ์ จนได้สายพันธุ์เผือกน้ำ 184-5-43
การรับรองพันธุ์คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ ให้ใช้ขยายพันธุ์ เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2511

ลักษณะประจำพันธุ์เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 166 เซนติเมตรไวต่อช่วงแสงลำต้นและใบสีเขียว แตกกอมาก รวงใหญ่ คอรวงยาว เมล็ดข้าวเรียวยาวข้าวเปลือกสีฟางท้องไข่ปานกลางอายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 22 กุมภาพันธ์ระยะพักตัวของเมล็ด ประมาณ 4 สัปดาห์เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.1 x 7.1 x 1.7 มิลลิเมตรปริมาณอมิโลส 24-27%









ชื่อพันธุ์ปทุมธานี 60 (Pathum Thani 60
ชนิดข้าวเจ้า
คู่ผสมดอกมะลิ 70*2 / ไชนีส 345
ประวัติพันธุ์ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่างพันธุ์ดอกมะลิ 70 กับสายพันธุ์ไชนีส 345 เมื่อ ปี พ.ศ.2501 ที่สถานีทดลองข้าวสันป่าตอง และนำไปปลูกคัดเลือกในสถานีทดลองข้าวภาคกลาง จนได้สายพันธุ์ SPT5837-400
การรับรองพันธุ์คณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์รับรองเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2530
ลักษณะประจำพันธุ์
เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 159 เซนติเมตรไวต่อช่วงแสงอายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 25 พฤศจิกายนลำต้นและใบสีเขียว มีขนบนใบ รวงแน่น ระแง้ถี่ คอรวงยาว เมล็ดเรียวยาวท้องไข่น้อยเมล็ดข้าวเปลือกสีฟางระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 5 สัปดาห์เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.3 x 7.5 x 1.8 มิลลิเมตรปริมาณอมิโลส 27-32 %คุณภาพข้าวสุก ค่อนข้างร่วน มีกลิ่นหอม








ชื่อพันธุ์พวงไร่ 2 (Puang Rai 2 )
ชนิดข้าวเจ้า
ประวัติพันธุ์ได้จากการรวบรวมพันธุ์พื้นเมือง โดยนายประวิทย์ สายทอง และ นายชัยทัศน์ นิจจสาร พนักงานเกษตร จากอำเภอเมือง จังหวัดเพชราบุรี จำนวน 85 รวง นำไปคัดเลือกแบบคันพันธุ์บริสุทธิ์ ตามสถานีทดลองข้าวต่างๆ จนได้สายพันธุ์ พวงไร่ 20-55-2

การรับรองพันธ์คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ ให้ใช้ขยายพันธุ์ เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อ 13 มิถุนายน 2511
ลักษณะประจำพันธุ์เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 170 เซนติเมตรไวต่อช่วงแสงลำต้นและใบสีเขียว ต้นสูง กอแผ่เมล็ดข้าวเปลือกสีฟางอายุเก็บเกี่ยวประมาณ 6 กุมภาพันธ์ท้องไข่น้อยระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 4 สัปดาห์เมล็ดข้าวกล้อง กว้างx ยาว x หนา = 2.3 x 7.5 x 1.9 มิลลิเมตรปริมาณอมิโลส 28-30 %









ชื่อพันธุ์พัทลุง 60 (Phatthalung 60
ชนิดข้าวเจ้า
ชื่อคู่ผสมกข13 / กข7
ประวัติพันธุ์ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่างพันธุ์ กข13 และพันธุ์ กข7 ที่สถานีทดลองข้าวควนกุฎ (ศูนย์วิจัยข้าวพัทลุง) ในปี พ.ศ. 2520 ปลูกคัดเลือกจนถึงชั่วที่ 5 ที่สถานีทดลองข้าว นครศรีธรรมราช จนได้สายพันธุ์ KGTLR77003-3-NSR-1-1

การรับรองพันธุ์คณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2530
ลักษณะประจำพันธุ์เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 156 เซนติเมตรไวต่อช่วงแสงอายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 6 -13 มกราคมต้นค่อนข้างแข็ง ล้มยาก มีรวงแน่น ระแง้ถี่ เมล็ดมาก รวงยาวและใหญ่ คอรวงยาว เมล็ดค่อนข้างป้อม ท้องไข่ปานกลางข้าวเปลือกสีฟาง อาจมีกระน้ำตาล









ชื่อพันธุ์พิษณุโลก 3 (Phitsanulok 3)
ชนิดข้าวเจ้า

คู่ผสมกข27 / LA29’73-NF1U-14-13-1-1

ประวัติพันธุ์ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่างพันธุ์ กข27 และสายพันธุ์ LA29’73-NF1U-14-13-1-1 ในปี พ.ศ. 2525 ที่สถานีทดลองข้าวสุพรรณบุรี ปลูกคัดเลือกจนได้สายพันธุ์ SPRLR82129-PSL-148-3-2
การรับรองพันธุ์คณะกรรมการบริหารกรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2545
ลักษณะประจำพันธุ์เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 167 เซนติเมตรไวต่อช่วงแสงอายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 1-10 ธันวาคมกอตั้ง ใบสีเขียว รวงแน่น ระแง้ถี่ คอรวงยาว ต้นแข็งเมล็ดข้าวเปลือกสีฟางระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 9 สัปดาห์เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.1 x 7.4 x 1.7 มิลลิเมตรปริมาณอมิโลส 23.6 %คุณภาพข้าวสุก ร่วน นุ่ม









ชื่อพันธุ์พิษณุโลก 60-1 (Phitsanulok 60-1)
ชนิดข้าวเจ้า
คู่ผสมขาวดอกมะลิ 105 / นางมล เอส-4 / / ไออาร์26

ประวัติพันธุ์ได้จากการผสม 3 ทาง ระหว่างพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 และพันธุ์นางมล เอส -4 กับพันธุ์ไออาร์26 ที่สถานีทดลองข้าวสุพรรณบุรี ในปี พ.ศ. 2516-2517 ปลูกคัดเลือกจนได้สายพันธุ์ SPR7419-179-4-1
การรับรองพันธุ์คณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2530
ลักษณะประจำพันธุ์เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 140-160 เซนติเมตรไวต่อช่วงแสงอายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 30 พฤศจิกายน -15 ธันวาคมลำต้นแข็งสีเขียวอ่อน ใบสีเขียวแคบ ยาวปานกลาง ใบธงสั้น รวงยาว ระแง้ถี่ เมล็ดยาวเรียวข้าวเปลือกสีฟาง ท้องไข่น้อยระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 7-8 สัปดาห์เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว xหนา = 2.2 x 7.3 x 1.7 มิลลิเมตรปริมาณอมิโลส 17 %








ชื่อพันธุ์ลูกแดงปัตตานี ( Look Daeng Pattani
ชนิดข้าวเจ้า
ประวัติพันธุ์ได้จากการเก็บรวบรวมข้าวพันธุ์พื้นเมือง จากบริเวณชายฝั่งซึ่งน้ำทะเลท่วมถึง และพื้นที่ที่มีสภาพเป็นดินเปรี้ยวจากตำบลกำช่า ตำบลบางเขา และตำบลตุยง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี เมื่อปี พ.ศ. 2528 นำไปปลูกทดสอบในเรือนทดลอง พร้อมทั้งปลูกศึกษาและ คัดเลือกพันธุ์ที่สถานีทดลองข้าวปัตตานี
การรับรองพันธุ์คณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์ แนะนำ เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2537

ลักษณะประจำพันธุ์เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 160 เซนติเมตรไวต่อช่วงแสงอายุเก็บเกี่ยว ประมาณ มกราคม - กุมภาพันธ์ต้นค่อนข้างแข็ง ใบสีเขียวอ่อน และตั้งตรง ใบธงแผ่เป็นแนวนอน รวงยาว ระแง้ถี่เมล็ดข้าวเปลือกสีน้ำตาลแดงเข้มระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 4 สัปดาห์เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.5 x 7.5 x 1.8 มิลลิเมตรท้องไข่ค่อนข้างมากปริมาณอมิโลส 25 %










ชื่อพันธุ์เล็บนกปัตตานี ( Leb Nok Pattani )
ชนิดข้าวเจ้า

ประวัติพันธุ์ได้จากการเก็บรวบรวมข้าวพันธุ์พื้นเมือง ที่นิยมปลูกทางภาคใต้ โดยนักวิชาการ จากสถานีทดลองข้าวปัตตานี เมื่อปี พ.ศ. 2527 จำนวน 307 พันธุ์ จาก 107 อำเภอ 14 จังหวัด ปลูกคัดเลือกพันธุ์แบบหมู่และคัดเลือกพันธุ์บริสุทธิ์ จนได้สายพันธุ์เล็บนก (PTNC84210)
การรับรองพันธุ์คณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์แนะนำ เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2537

ลักษณะประจำพันธุ์เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 170 เซนติเมตรไวต่อช่วงแสงอายุเก็บเกี่ยว ประมาณกุมภาพันธ์ใบธงแผ่เป็นแนวนอน คอรวงยาว รวงยาวแน่น ระแง้ถี่เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง ก้นจุดระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 3 สัปดาห์เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.1 x 6.0 x 1.7 มิลลิเมตรท้องไข่ปานกลางปริมาณอมิโลส 26 %คุณภาพข้าวสุก ร่วน นุ่ม










ชื่อพันธุ์หางยี 71 ( Hahng Yi 71 )
ชนิดข้าวเหนียว
ประวัติพันธุ์ได้จากการรวบรวมพันธุ์ โดยพนักงานข้าว จากอำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร เมื่อปี พ.ศ. 2506 ปลูกคัดเลือกแบบคัดพันธุ์บริสุทธิ์ตามสถานีทดลองข้าวต่างๆ จนได้สายพันธุ์ หางยี 563-2-71

การรับรองพันธุ์คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ ให้ใช้ขยายพันธุ์ เมื่อ พ.ศ. 2511
ลักษณะประจำพันธุ์เป็นข้าวเหนียว สูงประมาณ 152 เซนติเมตรไวต่อช่วงแสง ปลูกได้เฉพาะฤดูนาปีลำต้นสีเขียว ใบแคบ และยาว สีเขียวเข้ม รวงอ่อนมีระแง้แผ่ออกคล้ายตีนนกเมล็ดข้าวยาวเรียวข้าวเปลือกสีน้ำตาลอายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 4 พฤศจิกายนระยะพักตัวของเมล็ด ประมาณ 1 สัปดาห์เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.1 x 7.1 x 1.8 มิลลิเมตรคุณภาพข้าวสุก เหนียวนุ่ม










ชื่อพันธุ์เหมยนอง 62 เอ็ม ( Muey Nawng 62 M )
ชนิดข้าวเหนียว
ประวัติพันธุ์ได้จากการรวบรวมพันธุ์โดยเจ้าหน้าที่ของสถานีกสิกรรมแม่โจ้ เมื่อปี พ.ศ. 2494 และนายมณี เชื้อวิโรจน์ เจ้าหน้าที่วิชาการ สถานีทดลองข้าวสันป่าตอง นำมาปลูกคัดเลือกและเปรียบเทียบพันธุ์ในสถานีทดลองข้าวต่างๆ ในภาคเหนือ จนได้พันธุ์เหมยนอง 62 เอ็ม
การรับรองพันธุ์คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ให้ใช้ขยายพันธุ์ เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2502
ลักษณะประจำพันธุ์เป็นข้าวเหนียว สูงประมาณ 150 เซนติเมตรไวต่อช่วงแสงลำต้นและขอบใบสีม่วง แต่เมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีเขียว กอค่อนข้างแผ่ เมล็ดสั้นป้อมข้าวเปลือกสีฟางกระน้ำตาล ก้นจุดอายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 20 พฤศจิกายนระยะพักตัวของเมล็ด ประมาณ 1 สัปดาห์เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.9 x 6.6 x 2.0 มิลลิเมตร










ชื่อพันธุ์เหนียวสันป่าตอง (Niaw San-pah-tawng )
ชนิดข้าวเหนียว

ประวัติพันธุ์ได้จากการคัดเลือกข้าวเจ้าสายพันธุ์เหลืองใหญ่ 10-137-1 ซึ่งกลายพันธุ์เป็นข้าวเหนียว โดยนายมณี เชื้อวิโรจน์ เจ้าหน้าที่วิชาการ สถานีทดลองข้าวสันป่าตอง นำไปปลูกคัดพันธุ์ใหม่ จนได้พันธุ์เหนียวสันป่าตอง 137-1-16
การรับรองพันธุ์คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ ให้ใช้ขยายพันธุ์เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อ วันที่ 6 พฤษภาคม 2505

ลักษณะประจำพันธุ์เป็นข้าวเหนียว สูงประมาณ 150 เซนติเมตรไวต่อช่วงแสงทรงกอแฝเล็กน้อย ต้นค่อนข้างแข็ง รวงยาว เมล็ดยาวเรียวเมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.1 x 7.2 x 1.3 มิลลิเมตรข้าวเปลือกสีน้ำตาลอายุเก็บเกี่ยวประมาณ 26 พฤศจิกายนระยะพักตัวของเมล็ด ประมาณ 6 สัปดาห์คุณภาพข้าวสุก เหนียวนุ่ม










ชื่อพันธุ์เหนียวอุบล 1 ( Niaw Ubon 1 )
ชนิดข้าวเหนียว
คู่ผสมเหนียวสันป่าตอง* 2 / ไออาร์262

ประวัติพันธุ์ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่างพันธุ์เหนียวสันป่าตอง และพันธุ์ ไออาร์262 ในปีพ.ศ.2509 แล้วผสมกลับไปหาพันธุ์เหนียว สันป่าตองอีกครั้งหนึ่ง ในปี พ.ศ.2510 ที่สถานีทดลองข้าวบางเขน ทำการคัดเลือกต่อที่สถานีทดลองข้าวอุบลราชธานี จนได้สายพันธุ์ UBN6721-11-1- 6(3)
การรับรองพันธุ์คณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2526
ลักษณะประจำพันธุ์
เป็นข้าวเหนียว สูงประมาณ 145 เซนติเมตรไวต่อช่วงแสงอายุเก็บเกี่ยว ประมาณกลางเดือนพฤศจิกายนทรงกอตั้งตรง แตกกอดี ต้นและใบสีเขียวเข้ม ใบธงตั้ง เมล็ดยาวเรียวข้าวเปลือกสีฟางระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 7 สัปดาห์เมล็ดข้าวกล้อง ยาว 7.52 มิลลิเมตร กว้าง x ยาว x หนา = 2014 x 7.52 x1.78 มิลลิเมตรคุณภาพข้าวสุก เหนียวนุ่ม









ชื่อพันธุ์เหนียวอุบล 2 ( Niaw Ubon 2 )
ชนิดข้าวเหนียว
คู่ผสม SPT7149-429-3 / IR21848-65-3-2
ประวัติพันธุ์ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่างสายพันธุ์ SPT7149-429-3 และIR21848-65-3-2 ที่สถาบันวิจัยข้าวนานาชาติ เมื่อปี พ.ศ. 2525 ปลูกคัดเลือกที่ศูนย์วิจัยข้าวอุบลราชธานีจนได้ สายพันธุ์ IR43070-UBN-501-2-1-1-1
การรับรองพันธุ์คณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อ วันที่ 18 มีนาคม 2541
ลักษณะประจำพันธุ์เป็นพันธุ์ข้าวเหนียว สูงประมาณ 118 เซนติเมตรไวต่อช่วงแสงอายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 15 พฤศจิกายนทรงกอแผ่ ต้นแข็ง ใบสีเขียวเข้ม กาบใบสี เขียว ใบธงตั้งตรง รวงแน่นปานกลาง คอรวงสั้นเมล็ดข้าวเปลือกสีน้ำตาลระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 3 สัปดาห์เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.2 x 7.2 x 1.8 มิลลิเมตร









ชื่อพันธุ์เหลืองประทิว 123 ( Leuang Pratew 123 )


ชนิดข้าวเจ้า
ประวัติพันธุ์ได้จากการรวบรวมพันธุ์โดยพนังงานเกษตร จากเกษตรกรในอำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี เมื่อปี พ.ศ. 2498-2499 ปลูกคัดเลือกแบบคัดพันธุ์บริสุทธิ์ตามสถานีทดลองข้าวต่างๆ จนได้สายพันธุ์ เหลืองประทิว 126-8-123

การรับรองพันธุ์คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ ให้ใช้ขยายพันธุ์ เมื่อปี พ.ศ.2508
ลักษณะประจำพันธุ์เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 150 เซนติเมตรไวต่อช่วงแสงลำต้นและใบสีเขียว ใบกว้างและยาว คอรวงยาวข้าวเปลือกสีเหลือง เมล็ดยาวเรียวอายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 19 ธันวาคมระยะพักตัวของเมล็ด ประมาณ 6 สัปดาห์เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.3 x 7.6 x 1.8 มิลลิเมตรปริมาณอมิโลส 29-32 %คุณภาพข้าวสุก ร่วน แข็ง








ชื่อพันธุ์เหลืองใหญ่ 148 ( Leuang Yai 148
ชนิดข้าวเจ้า
ประวัติพันธุ์ได้จากการรวบรวมพันธุ์เหลืองใหญ่จากเกษตรกรในอำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ ่โดยนายพรม ยานะ พนักงานเกษตรอำเภอ เมื่อปี พ.ศ.2499-2501 คัดเลือกแบบคัดพันธุ์บริสุทธิ์ ที่สถานีทดลองข้าวสันป่าตอง จนได้สายพันธุ์ เหลืองใหญ่ 228-2-148

การรับรองพันธุ์คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ ให้ใช้ขยายพันธุ์ เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2511

ลักษณะประจำพันธุ์เป็นพันธุ์ข้าวเจ้า สูงประมาณ 160 เซนติเมตรไวต่อช่วงแสงลำต้นและใบสีเขียว ลำต้นเล็ก ใบธงค่อนข้างตั้งเมล็ดข้าวเปลือกสีเหลืองอายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 25 พฤศจิกายนระยะพักตัวของเมล็ด ประมาณ 6 สัปดาห์เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.6 x 7.8 x 1.8 มิลลิเมตรปริมาณอมิโลส 30-31คุณภาพข้าวสุก ร่วน แข็ง









ชื่อพันธุ์เข็มทองพัทลุง (Khem Tawng Phatthalung

ชนิด ข้าวเจ้า
ประวัติพันธุ์ได้จากการรวบรวมพันธุ์ข้าวพื้นเมือง จากตำบลท่ามิหรำ อำเมือง จังหวัดพัทลุง แล้วนำไปปลูกคัดเลือกแบบคัดพันธุ์บริสุทธิ์ จนได้สายพันธุ์เข็มทอง PTLC97001-4-2
การรับรองพันธุ์คณะกรรมการบริหารกรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2547
ลักษณะประจำพันธุ์เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 173 เซนติเมตรไวต่อช่วงแสงอายุเก็บเกี่ยวประมาณ 14 กุมภาพันธ์ต้นสูง ทรงกอตั้ง ฟางแข็ง ไม่ล้ม รวงแน่นปานกลาง ระแง้ถี่ระยะพักตัวประมาณ 2 สัปดาห์เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.19 x 9.94 x 1.57 เซนติเมตรปริมาณอมิโลส 24.1%เมล็ดข้าวสาร สีขาวใสประมาณ 548 กิโลกรัมต้านทานโรคใบจุดสีน้ำตาล และโรคขอบใบแห้งปานกลางต่อไร่ไม่ต้านทานโรคไหม้ และโรคใบสีส้ม








ชื่อพันธุ์ข้าวหลวงสันป่าตอง (Khao' Luang San-pah-tawng
ชนิดข้าวเจ้า
ประวัติพันธุ์ ได้จากการรวบรวมพันธุ์พื้นเมืองของเกษตรกรบ้านปางม่วง ต. แจ้ซ้อน อ. เมืองปาน จ. ลำปาง ปลูกศึกษาพันธุ์และเปรียบเทียบผลผลิตที่สถานีทดลองข้างสันป่าตอง และทดสอบพันธุ์ในพื้นที่โครงการพัฒนาพื้นที่รอยต่อ อ. เมือง อ.เมืองปาน และ อ. แจ้ห่ม จ. ลำปาง ในปี 2541 – 2546
การรับรองพันธุ์คณะกรรมการบริหาร กรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2547
ลักษณะประจำพันธุ์ข้าวเจ้าไวต่อช่วงแสงอายุเก็บเกี่ยวประมาณ 15-17 พฤศจิกายนกอตั้ง แตกกอมาก ลำต้นตรง แข็ง ไม่ล้มง่าย รวงยาว ระแง้ถี่ คอรวงยาวเมล็ดสีฟางกระน้ำตาลเมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.93 x 7.11 x 2.07 มิลลิเมตรปริมาณอมิโลส 14.26 %คุณภาพข้าวสุก นุ่ม เหนียว








ชื่อพันธุ์แก่นจันทร์ (Gaen Jan)
ชนิดข้าวเจ้า
ประวัติพันธุ์ได้จากการเก็บรวบรวมพันธุ์ข้าวพื้นเมืองจากเกษตรกรในอำเภอกระบุรี จังหวัดระนองเมื่อปี พ.ศ.2509 ทำการปลูกคัดเลือกพันธุ์แบบคัดพันธุ์บริสุทธิ์ จนได้สายพันธุ์ แก่นจันทร์707-2-23
การรับรองพันธุ์ คณะกรรมการวิจัยและพัฒนา กรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2526

ลักษณะประจำพันธุ์เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 165 เซนติเมตรไวต่อช่วงแสงอายุเก็บเกี่ยวประมาณปลายเดือนมกราคมถึงปลายเดือนกุมภาพันธ์ลักษณะทรงกอแบะ ต้นแข็ง ใบสีเขียว ใบธงเอน รวงยาวมาก ระแง้ถี่เมล็ดข้าวเปลือกสีฟางระยะพักตัว ประมาณ 5-6 สัปดาห์เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.16 x 7.06 x 1.58 มิลลิเมตรปริมาณอมิโลส 30-31%





บทที่ 2 พันธุ์ข้าวนาสวนไม่ไวต่อช่วงแสง









ชื่อพันธุ์กข1 (RD1)
ชนิดข้าวเจ้า
คู่ผสมเหลืองทองนาปรัง / ไออาร์8

ประวัติพันธุ์ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่างพันธุ์พื้นเมืองเหลืองทองนาปรัง กับไออาร์8 ผสมพันธุ์ที่สถานีทดลองข้าวบางเขนในฤดูนาปรังปี พ.ศ.2509 โดยนายวรวิทย์ พาณิชพัฒน์ แล้วทำการคัดเลือกแบบสืบตระกูลจนได้สายพันธุ์ BKN6617-56-1-2 ซึ่งเป็นข้าวเจ้าพันธุ์ผสมพันธุ์แรกที่ปลูกได้ตลอดปี
การรับรองพันธุ์คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ให้ใช้ขยายพันธุ์เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2512
ลักษณะประจำพันธุ์เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 115 เซนติเมตรไม่ไวต่อช่วงแสงอายุเก็บเกี่ยวประมาณ 130 วันลำต้นและใบสีเขียวอ่อน ใบธงตั้งตรง เมล็ดเรียวยาวเมล็ดข้าวเปลือกสีฟางระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 3 สัปดาห์ท้องไข่น้อยเมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.2 x 7.1 x 1.8 มิลลิเมตรปริมาณอมิโลส 29-30%คุณภาพข้าวสุกร่วน แข็ง









ชื่อพันธุ์ กข2 (RD2)
ชนิดข้าวเหนียว
คู่ผสมกำผาย15 * 2 / ไทชุง เนทีฟ 1
ประวัติพันธุ์ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่างข้าวเหนียวพันธุ์กำผาย 15 กับข้าวพันธุ์ไทชุง เนทีฟ 1 จากไต้หวัน และผสมกลับไปหาพันธุ์กำผาย 15 หนึ่งครั้งโดยผสมพันธุ์ที่สถาบันวิจัยข้าวนานาชาติ (IRRI) ประเทศฟิลิปปินส์ แล้วนำพันธ์ผสมขั่วที่ 3 เข้ามาทำการคัดเลือกในประเทศไทย จนได้สายพันธุ์ IR253-4-1-2-1 ซึ่งเป็นข้าวเหนียวพันธุ์ผสมพันธุ์แรกที่ปลูกได้ตลอดปี

การรับรองพันธุ์คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ให้ใช้ขยายพันธุ์เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2512
ลักษณะประจำพันธุ์เป็นข้าวเหนียว สูงประมาณ 115 เซนติเมตรไม่ไวต่อช่วงแสงใบสีเขียว กาบใบสีเขียวอ่อนเมล็ดข้าวเปลือกสีฟางอ่อนอายุเก็บเกี่ยวประมาณ 130 วันระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 4 สัปดาห์เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.6 x 7.2 x 1.9 มิลลิเมตร








ชื่อพันธุ์กข3 (RD3)
ชนิดข้าวเจ้า
คู่ผสมเหลืองทองนาปรัง / ไออาร์8
ประวัติพันธุ์ ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่างพันธุ์พื้นเมืองเหลืองทองนาปรังกับไออาร์8 ซึ่งเป็นพ่อแม่ เดียวกับ กข1 แต่ กข3 แตกต่างจาก กข1 ที่มีใบธงยาวกว่ามาก และเปลือกเมล็ดสีน้ำตาล โดยผสมพันธุ์ข้าวที่สถานีทดลองข้าวบางเขน ในฤดูนาปรัง ปี พ.ศ.2509 ทำการคัดเลือกแบบสืบตระกูล จนได้พันธุ์ผสมขั่วที่ 5 ได้สายพันธุ์ BKN6617-12-2-2
การรับรองพันธุ์คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ให้ใช้ขยายพันธุ์เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2512
ลักษณะประจำพันธุ์เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 100 เซนติเมตรไม่ไวต่อช่วงแสงลำต้นและใบสีเขียว เมล็ดเรียวยาวเมล็ดข้าวเปลือกสีน้ำตาลอายุเก็บเกี่ยวประมาณ 128 วันระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 3 สัปดาห์เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.2 x 7.2 x 1.8 มิลลิเมตรท้องไข่น้อยปริมาณอมิโลส 29-31%คุณภาพข้าวสุกร่วน แข็ง








ชื่อพันธุ์กข4 (RD4)
ชนิด ข้าวเหนียว
คู่ผสมเหลืองทองนาปรัง / ไออาร์8//ดับเบิ้ลยู1252 /// กข2

ประวัติพันธุ์ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่างพันธุ์พี่น้องของ กข1 (เหลืองทองนาปรัง / ไออาร์8 สายพันธุ์ 17-1) กับพันธุ์ ดับเบิ้ลยู1252 (หรือ อีเค1252) จากอินเดีย ซึ่งต้านทานแมลงบั่ว แล้วนำลูกผสมชั่วแรกผสมกับพันธุ์ กข2 เพื่อให้ได้ลักษณะข้าวเหนียว และคัดเลือกตามสถานีทดลองข้าวต่างๆ จนได้สายพันธุ์ BKN6805-22-13
การรองรับพันธุ์คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ให้ใช้ขยายพันธุ์เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2516
ลักษณะประจำพันธุ์เป็นข้าวเหนียว สูงประมาณ 115 เซนติเมตรไม่ไวต่อช่วงแสงลำต้น กาบใบ และขอบใบสีม่วง เมล็ดยาวเรียวข้าวเปลือกสีน้ำตาลเข้มอายุเก็บเกี่ยวประมาณ 127 วันระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 4 สัปดาห์เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.4 x 7.3 x 1.8 มิลลิเมตรคุณภาพข้าวสุก แข็ง









ชื่อพันธุ์ กข7 (RD7)
ชนิดข้าวเจ้า
คู่ผสมซี4-63 // เก้ารวง 88 / ซิกาดีส
ประวัติพันธุ์ได้จากการผสม 3 ทาง ระหว่างพันธุ์เก้ารวง 88 ของประเทศไทย และพันธุ์ชิกาดิส จากประเทศอินโดนีเชีย กับพันธุ์ซี4-63 จากประเทศฟิลิปปินส์ โดยผสมพันธุ์เมื่อปี พ.ศ. 2510 ที่สถานีทดลองข้าวสุพรรณบุรี คัดเลือกและทดสอบผลผลิตในสถานีทดลองข้าวหลายแห่ง จนได้สายพันธุ์ SPR6726-134-2-26
การรับรองพันธุ์คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ให้ใช้ขยายพันธุ์เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2518
ลักษณะประจำพันธุ์เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 115 เซนติเมตรไม่ไวต่อช่วงแสงอายุเก็บเกี่ยวประมาณ 125 วันเมล็ดข้าวเปลือกสีฟางท้องไข่น้อยระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 1 สัปดาห์เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา =2.3 x 7.2 x 1.8 มิลลิเมตรปริมาณอมิโลส 24-28 %คุณภาพข้าวสุก ร่วน นุ่ม









ชื่อพันธุ์ กข9 (RD9)
ชนิดข้าวเจ้า
คู่ผสมชัยนาท3176 / ดับเบิ้ลยู1256 // กข2
ประวัติพันธุ์ได้จากการผสม 3 ทาง ระหว่างสายพันธุ์ ชัยนาท3176 (เหลืองใหญ่34 *2 / ไทชุง เนทีฟ 1) กับพันธุ์ดับเบิ้ลยู1256 (หรือ อีเค1256)จากประเทศอินเดีย และพันธุ์ กข2 ของไทย เริ่มผสมพันธุ์เมื่อปี พ.ศ.2511 ในระยะแรกได้นำไปทดลอบผลผลิตในภาค เหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในสถานีทดลองข้าวต่างๆ เพื่อทดสอบความต้านทาน ต่อแมลงบั่ว และเมื่อมีปัญหาการระบาดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลและเพลี้ยจักจั่นสีเขียวในภาคกลาง จึงได้นำข้าวสายพันธุ์นี้มาทดสอบผลผลิตในสถานีทดลองข้าวภาคกลาง จนได้สายพันธุ์ BKN6809-74-4

การรองรับพันธุ์คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ให้ใช้ขยายพันธุ์เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2518
ลักษณะพันธุ์เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 105 เซนติเมตรไม่ไวต่อช่วงแสงทรงกอตั้งตรง สีเขียวเข้ม ฟางแข็งไม่ล้มง่ายเมล็ดข้าวเปลือกสีฟางอายุเก็บเกี่ยวประมาณ 115-125 วันท้องไข่น้อยระยะฟักตัวของเมล็ดประมาณ 5 สัปดาห์เมล็ดข้าวกล้อง กว้างxยาวxหนา = 2.3 x 7.2 x 1.8 มิลลิเมตรปริมาณอมิโลส 29-31 %








ชื่อพันธุ์กข10 (RD10)
ชนิดข้าวเหนียว
ประวัติพันธุ์ ได้จากการปรับปรุงพันธุ์ โดยการชักนำให้เกิดการกลายพันธุ์ โดยใช้รังสีนิวตรอนเร็ว ปริมาณ 1 กิโลแรด อาบเมล็ดข้าวพันธุ์ กข1 เมื่อปี พ.ศ.2512 ปลูกคัดเลือกที่สถานีทดลองข้าวบางเขน จนได้สายพันธุ์ RD1'69-NF1U-G6-6 หลังจากนั้นได้นำไปปลูกเปรียบเทียบผลผลิตที่สถานีทดลองข้าวในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
การรับรองพันธุ์คณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตร ให้ใช้ขยายพันธุ์เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2524
ลักษณะประจำพันธุ์เป็นข้าวเหนียว สูงประมาณ 115 เซนติเมตรไม่ไวต่อช่วงแสงอายุเก็บเกี่ยวประมาณ 130 วันทรงกอตั้งตรง ลำต้นสีเขียวเข้ม ใบค่อนข้างกว้าง รวงอยู่ใต้ใบธงระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 5 สัปดาห์เมล็ดข้าวเปลือกสีฟางเมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.3 x 7.6 x 1.8 มิลลิเมตรคุณภาพข้าวสุก เหนียวนุ่ม











ชื่อพันธุ์ กข11 (RD11
ชนิดข้าวเจ้า
คู่ผสมไออาร์661 / ขาวดอกมะลิ 105
ประวัติพันธุ์ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่างพันธุ์ไออาร์661 กับพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 เมื่อปี พ.ศ.2512 ที่สถานีทดลองข้าวหันตรา แล้วนำมาคัดเลือกที่สถานีทดลองข้าวบางเขน คัดจนได้พันธุ์ผสมเบอร์ ดับเบิ้ลยูพี153
การรับรองพันธุ์คณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตรให้ใช้ขยายพันธุ์เป็นพันธุ์รับรองเมื่อวันที่ 13 มกราคม 2520
ลักษณะประจำพันธุ์เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 115 เซนติเมตรไม่ไวต่อช่วงแสงทรงกอตั้งตรงสีเขียวเข้ม ฟางแข็ง ใบธงยาวปานกลาง แตกกอมากเมล็ดข้าวเปลือกสีฟางอายุเก็บเกี่ยวประมาณ 135 วันท้องไข่ปานกลางระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 4 สัปดาห์เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.37 x 7.6 x 1.8 มิลลิเมตรปริมาณอมิโลส 29-32 %คุณภาพข้าวสุก ร่วน แข็ง








ชื่อพันธุ์กข21 (RD21)
ชนิดข้าวเจ้า
คู่ผสมขาวดอกมะลิ 105 / นางมลเอส-4 // ไออาร์26
ประวัติพันธุ์ได้จากการผสม 3 ทางระหว่างขาวดอกมะลิ 105 และ นางมล เอส -4 กับ ไออาร์26 ที่สถานีทดลองข้าวสุพรรณบุรี เมื่อพ.ศ.2517ปลูกคัดเลือกที่สถานีทดลองข้าวสุพรรณบุรี จนได้สายพันธุ์ SPR7419-86-2-5 ซึ่งเป็น พันธุ์แรกที่ต้านทานโรคใบหงิกและให้ผลผลิตค่อนข้างสูง
การรับรองพันธุ์คณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตรให้ใช้ขยายพันธุ์เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 252
ลักษณะประจำพันธุ์เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 100-125 เซนติเมตรไม่ไวต่อช่วงแสงอายุเก็บเกี่ยวประมาณ 120-130 วันลำต้นใหญ่ แต่ค่อนข้างอ่อน รวงแน่น อยู่ใต้ใบธงเมล็ดข้าวเปลือกสีฟางกระน้ำตาลระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 4 สัปดาห์ท้องไข่น้อยเมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.3 x 7.3 x 1.8 มิลลิเมตรปริมาณอมิโลส 17-20 %คุณภาพข้าวสุก นุ่ม








ชื่อพันธุ์กข23 (RD23)
ชนิดข้าวเจ้า
คู่ผสมกข7 / ไออาร์32 // กข1
ประวัติพันธุ์ได้จากการผสม 3 ทางระหว่าง กข7 และ ไออาร์32 กับ กข1 ที่สถานีทดลองข้าวสุพรรณบุรี เมื่อปี พ.ศ.2521 แล้วปลูกคัดเลือกจนได้สายพันธุ์ SPRLR76002-168-1-4

การรับรองพันธุ์คณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตร ให้ใช้ขยายพันธุ์เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2524

ลักษณะประจำพันธุ์ เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 115-120 เซนติเมตรไม่ไวต่อช่วงแสงอายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 125 วันลำต้นและใบมีสีเขียวอ่อน ใบธงตั้ง และค่อนข้างยาว รวงอยู่ใต้ใบ แตกกอดีข้าวเปลือกสีฟางระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 5 สัปดาห์ท้องไข่น้อยปริมาณอมิโลส 25-30 %คุณภาพข้าวสุก ร่วน นุ่มเมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.2 x 7.3 x 1.8 มิลลิเมตร








ชื่อพันธุ์
กข25 (RD25)
ชนิดข้าวเจ้า
คู่ผสม ขาวดอกมะลิ 105 / ไออาร์2061-213-2-3-3 // ขาวดอกมะลิ 105 / ไออาร์ 26

ประวัติพันธุ์ได้จากการผสมซ้อนระหว่างคู่ผสมของพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 และพันธุ์ไออาร์2061-213-2-3-3 กับคุ่ผสมของพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 กับไออาร์26 ที่สถานีทดลองข้าวบางเขน เมื่อ พ.ศ.2518 ปลูกคัดเลือกที่สถานีทดลองข้าวชัยนาท และสถานีทดลองข้าวรังสิต จนได้สายพันธุ์ BKNLR75091-CNT-B-RST-40-2-2
การรับรองพันธุ์คณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตรให้ใช้ขยายพันธุ์เป็นพันธุ์รับรองเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2524
ลักษณะประจำพันธุ์เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 100 เซนติเมตรไม่ไวต่อช่วงแสงอายุเก็บเกี่ยวประมาณ 90 - 100 วันลำต้นตั้งตรง ฟางค่อนข้างแข็ง ใบสีเขียวอ่อน รวงอยู่ใต้ใบข้าวเปลือกสีฟางระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 4 สัปดาห์ท้องไข่ปานกลางเมล็ดข้างกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.2 x 7.3 x 1.7 มิลลิเมตรปริมาณอมิโลส 25 %คุณภาพข้าวสุก ร่วน นุ่ม








ชื่อพันธุ์ข้าวเจ้าหอมคลองหลวง 1 (Khao’ Jow Hawm Khlong Luang 1)

ชนิดข้าวเจ้า
คู่ผสมนางมล เอส-4 / ไออาร์841-85-1-1-2
ประวัติพันธุ์ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่างพันธุ์นางมล เอส-4 กับสายพันธุ์ไออาร์841-85-1-1-2 ที่สถานีทดลองข้าวคลองหลวง ปลูกคัดเลือกจนได้สายพันธุ์ KLG83055-1-1-1-2-1-4
การรับรองพันธุ์ คณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2540
ลักษณะประจำพันธุ์เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 110 เซนติเมตรไม่ไวต่อช่วงแสงอายุเก็บเกี่ยวประมาณ 118 วัน เมื่อปลูกในฤดูนาปรัง และ 125 วัน ในฤดูนาปีทรงกอตั้ง ฟางแข็ง ใบสีเขียว ใบธงยาวปานกลาง และ ค่อนข้างตั้ง คอรวงสั้น รวงยาวแน่น และระแ้ง้ถี่เมล็ดข้าวเปลือกสีฟางระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 5-6 สัปดาห์เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.3 x 7.8 x 1.8 มิลลิเมตรปริมาณอมิโลส 18-19 %คุณภาพข้าวสุก นุ่มเหนียวและหอม








ชื่อพันธุ์ ข้าวเจ้าหอมสุพรรณบุรี (Khao' Jow Hawm Suphan Buri
ชนิดข้าวเจ้า
คู่ผสม SPR84177-8-2-2-2-1 / SPR85091-13-1-1-4 // ขาวดอกมะลิ 105
ประวัติพันธุ์ได้จากการผสม 3 ทางระหว่างlสายพันธุ์ SPR84177-8-2-2-2-1 และ SPR85091-13-1-1-4 กับพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ที่สถานีทดลองข้าวสุพรรณบุรี เมื่อปี พ.ศ.2532 ปลูกคัดเลือกจนได้สายพันธุ์ SPR89111-17-2-2-2-2
การรับรองพันธุ์คณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์แนะนำเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2540
ลักษณะประจำพันธุ์เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 126 เซนติเมตรไม่ไวต่อช่วงแสงอายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 120 วันทรงกอตั้ง ฟางแข็ง ใบสีเขียว ใบธงตั้งตรง รวงยาวและคอรวงยาวเมล็ดข้าวเปลือกสีฟางระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 3-4 สัปดาห์เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.1 x 7.7 x 1.8 มิลลิเมตรปริมาณอมิโลส 18-19 %คุณภาพข้าวสุก นุ่มเหนียวและหอม








ชื่อพันธุ์ชัยนาท 1 (Chai Nat 1)
ชนิดข้าวเจ้า
คู่ผสม IR13146-158-1 / IR15314-43-2-3-3 // BKN6995-16-1-1-2
ประวัติพันธุ์ได้จากการผสม 3 ทาง ระหว่างสายพันธุ์ IR13146-158-1 และสายพันธุ์ IR15314-43-2-3-3 กับ BKN6995-16-1-1-2 ที่สถานีทดลองข้าวชัยนาท เมื่อ พ.ศ. 2525 ปลุกคัดเลือกจนได้สายพันธุ์ CNTBR82075-43-2-1
การรับรองพันธุ์คณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์รับรองเมื่อวันที่9 กันยายน 2536

ลักษณะประจำพันธุ์เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 113 เซนติเมตรไม่ไวต่อช่วงแสงอายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 121-130 วันทรงกอตั้ง ใบสีเขียว ใบธงค่อนข้างยาวตั้งตรง คอรวงสั้น รวงยาวและแน่น ระแง้ค่อนข้างถี่ ฟางแข็งเมล็ดข้าวเปลือกสีฟางระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 8 สัปดาห์เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.1 x 7.7 x 1.7 มิลลิเมตรปริมาอุณหภูมิโลส 26-27 %คุณภาพข้าวสุก ร่วน แข็ง








ชื่อพันธุ์ชัยนาท 2 (Chai Nat 2)
ชนิดข้าวเจ้า
คู่ผสมหอมพม่า (GS.No.3780 ) / IR11418-19-2-3
ประวัติพันธุ์ได้จาการผสมพันธุ์แบบผสมเดี่ยวระหว่างข้าวเจ้าพันธุ์หอมพม่า (GS.No. 3780) ซึ่งเป็นข้าวหอมพันธุ์พื้นเมืองจากจังหวัดกาญจนบุรี กับสายพันธุ์ IR11418-19-2-3 จากสถาบันวิจัยข้าวนานาชาติ (IRRI) ที่สถานีทดลองข้าวชัยนาท ใน พ.ศ.2530 ปลูกคัดเลือกพันธุ์แบบสืบตระกูล จนได้สายพันธุ์ CNT87040-281-1-4
การรับรองพันธุ์คณะกรรมการบริหาร กรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2547
ลักษณะประจำพันธุ์เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 83 - 95 เซนติเมตรไม่ไวต่อช่วงแสงอายุเก็บเกี่ยวประมาณ 103 – 105 วันทรงกอแบะ ใบสีเขียวเข้ม ใบธงเป็นแนวนอน รวงแน่นปานกลาง ระแง้ถี่ คอรวงยาว ต้นแข็ง ไม่ล้ม ใบค่อนข้างแก่เร็วเมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง






ชื่อพันธุ์ ปทุมธานี 1 (Pathum Thani 1)
ชนิดข้าวเจ้า
คู่ผสม BKNA6-18-3-2 / PTT85061-86-3-2-1
ประวัติพันธุ์ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่างสายพันธุ์ BKNA6-18-3-2 กับสายพันธุ์ PTT85061-86-3-2-1 ที่ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี ในปี พ.ศ. 2533 ปลูกคัดเลือกจนได้สายพันธุ์ PTT90071-93-8-1-1

การรับรองพันธุ์คณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์รับรองเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2543
ลักษณะประจำพันธุ์เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 104-133 เซนติเมตรไม่ไวต่อช่วงแสงอายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 104-126 วันทรงกอตั้ง ใบสีเขียวมีขน กาบใบและปล้องสีเขียว ใบธงยาว ทำมุม 45o กับคอรวง รวงอยู่ใต้ใบธงเมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง มีขน มีหางเล็กน้อยระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 3-4 สัปดาห์เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.1 x 7.6 x 1.7 มิลลิเมตรปริมาณอมิโลส 15-19 %คุณภาพข้าวสุก นุ่มเหนียว มีกลิ่นหอมอ่อน

ไม่มีความคิดเห็น: